ผู้จัดทำ
นาย พิสิษฐ์ เกียรติกวินพงศ์
ชื่อเล่น บิ๊ก
อายุ 21 ปี
เกิดวันที่ 2 กันยายน 2535
กรุ๊ปเลือด A
กำลังศึกษาที่
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะ บริหารศาสตร์
สาขาวิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (The Butterfly Effect)
ก่อนที่จะพูดถึง Butterfly effect ก็คงต้องมีการเอ่ยถึงทฤษฎีหนึ่ง คือ Chaos Theory (เคอ็อส)
ที่กำลังเป็นกระแสใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง
เป็นแนวความคิดที่พัฒนาจากขบวนการสังเกตของนักวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่ชื่อ เอียน โพซิเบิล ของมหาวิทยาลัยลอนดอน
ได้เขียนหนังสือชื่อ Chaos
a science for the real world ( a science : ความรู้ , for the
real world : ในโลกแห่งความเป็นจริง
) โดยอธิบายไว้ว่า ทฤษฎีแห่งความไร้ระเบียบหรือ chaos theory (เขาใช้คำว่าไร้ระเบียบ
ในปัจจุบันนี้สังคมไทยใช้คำว่า สับสนอลหม่าน, หรือนักวิชาการบางท่านก็ไปเขียนไว้ว่าเป็นทฤษฎีความโกลาหล
) เปรียบกับแม่น้ำสายใหญ่เกิดจากสายน้ำหลายสายไหลมาบรรจบกัน
ฉะนั้น แหล่งที่มาของทฤษฎีไร้ระเบียบมาจากทุกสาขาวิชา
ในสภาพ Chaos,
สภาพสับสนอลหม่าน, สภาพไร้ระเบียบ
คือไร้เสถียรภาพ (unstable) มี ความอ่อนไหวสูงยิ่ง
หรือมีความเปราะบาง
เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เป็นเส้น ตรง
แต่เป็นทางที่คดเคี้ยว กวัดแกว่ง และบางครั้งก้าวกระโดด เกิดตรงจุดนั้นบ้าง
จุดนี้บ้าง… ทำให้ยากที่จะทำนาย ผลลัพธ์ได้ เพราะมีสิ่งอื่น
ๆ ที่มาเป็นองค์ประกอบหลาย ๆ ประการ ที่ส่งผลต่อระบบใหญ่
ซึ่งแนวความคิดอันนี้ก็ไปกระทบกับแนวความคิดดั้งเดิม
ที่คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องแน่นอน (1+1=2) ทำให้ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีกระแสใหม่
ซึ่งในตอนหนึ่งของการอธิบายทฤษฎีไร้ระเบียบได้พูดถึงผลกระทบของ Butterfly
Effect ซึ่งศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด เลอลอง
นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้รับเครดิตในเรื่องทฤษฎีเคอ็อส จากผลการทดลองตั้งแต่ปี
พ.ศ.2506 และในปี พ.ศ.2515 เขาได้พูดในสมาคม
Advancement of Science ของอเมริกา ที่ Washington,
D.C โดย ใช้หัวข้อว่า
การกระพือปีกของผีเสื้อในประเทศบราซิลก่อให้เกิดพายุทอนาโดในรัฐเท็กซัสได้ หรือไม่
นับตั้งแต่นั้นมาคำว่า ปรากฏการณ์ผีเสื้อ (Butterfly Effect) ก็เริ่มแพร่หลายและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง
ปรากฏการณ์ผีเสื้อ
( Butterfly Effect ) จึงมี 2 ความหมายใหญ่ๆ
คือ
1. สำหรับนักวิชาการ จะหมายถึงสมการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ของศาสตราจารย์
เอ็ดเวิร์ด เลอลอง ที่แสดงผลเป็นกราฟรูปผีเสื้อ (ที่มา : wikipedia.com)
The butterfly effect in the Lorenz attractor time
2. สำหรับ บุคคลทั่วไป เป็นการสื่อความหมายว่า เรื่องเล็กๆ
เช่นการที่ผีเสื้อกระพือปีกสามารถก่อให้ เกิดเรื่องใหญ่ๆที่ไม่คาดคิดในระยะทางไกลๆได้
(เข้าทำนอง “เด็ดดอกไม้กระเทือนถึงดวงดาว”) เขา อธิบายไว้ว่า ในด้านทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา
ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถที่จะทำให้ดินฟ้า
อากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง
นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า Butterfly Effect (หนังสือที่ศาสตราจารย์เลอลองเขียนได้พูดถึงศาสตราจารย์เลอลองเคยได้รับเชิญให้นำเสนอ
Lecture ทางวิชาการ 3 ชุด ที่ University
of Washington (Seattle) ภายใต้การสนับสนุนของคหบดีที่อุดหนุนด้านการศึกษามนุษยชาติ
(Jessy Dance) ในการนำเสนอศาสตราจารย์ซึ่งเป็นนักอุตุนิยมวิทยามากว่า
30 ปี ได้เฝ้าวิจัยแนวความคิดด้านอุตุนิยมวิทยา
ท่านบอกว่าท่านค้นพบโดยบังเอิญ จากกระบวนการที่ท่านนั่งเฝ้าตัวเลขที่ค่อย ๆ
ปรับเปลี่ยนไปเป็น .0000001 ของ ทศนิยม
ท่านนั่งเฝ้าเข็มรายงานความเคลื่อนไหวของอากาศ ทุกครั้งที่เกิดการสั่งสะเทือนของระบบการรับข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะอากาศ
และเฝ้าสังเกตดูจุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละจุด ๆ
เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนไปแล้วจะทำให้เกิดรูปร่างที่เสมือนกับโครงสร้างของ
ผีเสื้อ ท่านพบว่า .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปก่อให้
เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในภาวะแวดล้อมของอุตุนิยมวิทยาไม่ใช่เกิดขึ้นจาก
สาเหตุใหญ่ ๆ หากแต่เกิดขึ้นจากสัญญาณเล็ก ๆ เป็นจุด ๆ
ท่านจึงอธิบายว่าถ้ามันเป็นเช่นนี้จริงก็หมายความว่า แม้กระทั่งผีเสื้อตัวเล็ก ๆ
กระพือปีกเบา ๆ อยู่ที่ซึกโลกหนึ่งก็ส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาของอีกซีกโลกหนึ่งก็อาจจะเป็นได้
ภาพ Butterfly
Effect ทำให้เกิดกระแสความแตกตื่นขึ้นในกลุ่ม IT และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์โลก ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ ท่านอธิบายว่า Chaos
จะเกิดผลกระทบต่อโลกอย่างไร? จะเกิด Global
Effect อย่างไรต่อไป ? ตัวอย่าง
เช่นปรากฏการณ์เอลนินโญ่ เกิดจากการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทาง
จากที่เคยไหลเรียบฝั่งแอฟริกาอยู่ดี ๆก็ข้ามฝากมาอเมริกาใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก
ผลส่วนหนึ่งคือทำให้เกิดไฟไหม้ป่าที่เกาะสุมาตรา
จากป่าที่เป็นเคยสมบูรณ์ที่สุดในแถบเอเชีย
ซึ่งการที่กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศทางนั้นเป็นผลมาจากการสะสมความเปลี่ยนแปลง
ทีละเล็ก ละน้อย แต่ความเป็นจริงมีสัญญาณเตือนภัยที่ส่อเค้ามาก่อนแล้ว เช่น
หิมะละลาย แผ่นดินถล่ม แต่ก็ไม่มีคนสนใจ การเกิดโรคซาร์ในประเทศจีน
ทำให้เกิดการล้มตายอย่างเฉียบพลัน
การเกิดไข้หวัดนกที่อาจมีสัญญานบอกเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการก้าวข้ามสายพันธ์ของไวรัสที่อาจจะไม่ใช่เป็นไปตามลำดับขั้นตามทฤษฎี
ที่เคยเป็น แต่อาจมีการข้าม กระโดด เปลี่ยนแปลงอย่างชนิดตามไม่ทันก็ได้
ซึ่งปรากฎการณ์แบบ Butterfly effect แค่หิมะจากแอ
นตาร์กติกลอยออกมาเป็นก้อน ๆ ปลารูปร่างหน้าตาประหลาดมาเกยตื้นที่หากสะหมิหรา ก็สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อโลกมนุษย์แล้ว
การก่อให้เกิดภาวะ Chaos หรือความซับซ้อนของตัวเอง
ในสิ่งนั้น ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้
เมื่อมีปัจจัยที่ซับซ้อนเข้ามากระทบกระเทือนต่อความซับซ้อน
ในระบบที่ซับซ้อนของตนเอง
เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนแม้แต่ .0000001% ความ คลาดเคลื่อนนี้เมื่อมันก่อตัวขึ้นมาแล้ว
จะเกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก เมื่อเกิดภาวะที่เป็นไปอย่างไร้ระเบียบ
ก็จะเกิดพลวัตรในระดับการโต้ตอบ, สะท้อนกลับขึ้นมา
เป็นภาวะที่แตกแยก, เริ่มแยกออกไปอย่างไร้ทิศทาง
จะมีสองมุมประกอบกัน มุมหนึ่งคือ มุมของการโต้ตอบ เรียกว่า Feedback กับอีกมุมหนึ่งคือการเกิดซ้ำหรือ reiteration ซึ่ง
อาจมีผลกระทบทางลบหรือบวกก็ได้ อาจก่อให้เกิดสภาพเร่งเร้า
ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ซึ่งความเร่งเร้าที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระดับที่สามารถจะควบคุมได้ และสภาวะแห่งความไร้ระเบียบนี้
ไม่ใช่เป็นความอลหม่าน จะซุกซ่อนความเป็นระบบอยู่ในความไร้ระเบียบของตัวมันเอง
และส่งผลกระทบถึงกัน
ซึ่งระบบที่แสดงความไร้ระเบียบจะมีลักษณะ
คือ
1. มีคุณสมบัติแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinearly) คือผลลัพธ์ทั้งหมดของระบบ ไม่เท่ากับ ผลรวมของผลลัพธ์ที่เกิดจากส่วนย่อย ๆ รวมกัน
2. ไม่ใช่การเกิดแบบสุ่ม เหตุการณ์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นภายใต้กฎเกณฑ์อันแน่นอน
3. มีความไวต่อสภาวะเริ่มต้น (sensitive dependency on initial conditions) ที่เรียกว่าปรากฎการณ์แบบ butterfly effect : ซึ่งในบางครั้งการขยายความแตกต่างให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะขยายไปถึง เลขยกกำลัง 3 (exponential) ของเวลา
4. ไม่ สามารถทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้าได้ระยะยาว เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีเหตุ(ปัจจัย)ใดที่กระทบ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปรียบดังมีผีเสื้อหลายตัว “ไม่รู้ว่าตัวไหนจะกระพือปีก”
แล้วคุณล่ะ………รู้ไหมว่าในองค์การ……..มีผีเสื้ออยู่ตรงไหน และตัวไหนกระพือปีก ไม่กระพือปีก …. ซึ่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยังไม่ติดหูกันมากนัก หากสมาชิกมีข้อมูลก็มาร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันคงทำให้ผู้เขียน เข้าใจอะไร ๆ ในเรื่องนี้ได้กระจ่างยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น